เมื่ออายุได้ 16 ปี สโนว์เดนย้ายไปอยู่ที่เมืองเอลลิคอตต์ มลรัฐแมริแลนด์พร้อมกับครอบครัว และเข้าเรียนสาขาคอมพิวเตอร์ ที่วิทยาลัยแอนน์ อรันเดล คอมมิวนิตี คอลเลจ และตั้งใจเรียนต่ออนุปริญญา แต่ไม่สำเร็จ
ประวัติการทำงาน
เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2547 เมื่ออายุได้ 21 ปี เขาเข้ารับใช้กองทัพสหรัฐฯ ด้วยความหวังว่าจะได้เป็นหน่วยรบพิเศษ ที่ไปรบในอิรัก เพื่อช่วยปลดปล่อยประชาชนจากการถูกกดขี่ แต่ระหว่างการฝึกได้เพียง 4 เดือน เขาได้รับอุบัติเหตุขาหักทั้งสองข้าง จึงถูกปลดจากกองทัพ
ชีวิตพลิกผันไปเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย สังกัดสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ NSA ประจำมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ ก่อนเข้าร่วมงานกับซีไอเอ ในตำแหน่งรักษาความปลอดภัยด้านไอที จากนั้น อีก 3 ปีต่อมา เขาถูกย้ายไปประจำที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในตำแหน่งเดิม ก่อนลาออกในปี 2552 เพื่อไปทำงานกับบริษัทเดลล์ และบูซ อัลเลน แฮมิลตัน
บริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทนอก ที่รัฐบาลสหรัฐฯว่าจ้างให้ไปทำงานด้านไอที ให้กับหน่วยซีไอเอ ภายใต้การบังคับบัญชาของ NSA เขาทำงานให้กับเดลล์หลายปี ก่อนจะย้ายไปอยู่ที่บูธ อัลเลน แฮมิลตัน ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่มลรัฐฮาวาย เขามีบ้านอยู่ที่นั่น และใช้ชีวิตอยู่กับ ลินด์เซย์ มิลส์ แฟนสาวของเขา ซึ่งเป็นนักเต้นรูดเสา ที่คบหากันมา 4-5 ปี
ประวัติการแฉ
ทำเนียบขาวและหน่วยข่าวกรองระดับนำของสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นสภาความมั่นคงแห่งชาติ (เอ็นเอสเอ) สำนักงานข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) และสำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐฯ (เอฟบีไอ) พลันสั่นสะเทือนเลื่อนลั่นราวกับเกิดแผ่นดินไหวระดับ 8 หรือ 9 จากฝีมือการขย่มของคนเล็กๆ คนหนึ่งที่มีพลังมหาศาลสามารถพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินวงการจารกรรมในแดนดินถิ่นอินทรีอเมริกาและทั่วโลกจนปั่นป่วนไปตามๆ กัน
ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ถึงกับนั่งไม่ติดขณะถูกรุมจวกแทบไม่มีชิ้นดีในคดีสะท้านโลก กรณีไฟเขียวให้ปัดฝุ่นโครงการลับสุดยอดที่ใช้ชื่อรหัสว่า “พริซึม” (prism) มาพัฒนาให้ทันสมัยปูทางให้เอ็นเอสเอ พร้อมด้วยซีไอเอและเอฟบีไอสามารถจารกรรมข้อมูลส่วนตัวของอเมริกันชนและผู้ที่เข้าไปตั้งถิ่นฐานในประเทศนี้ ด้วยการเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือเซิร์ฟเวอร์ของบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการเทคโนโลยีของสหรัฐฯ 9 แห่ง ได้แก่ ไมโครซอฟท์, กูเกิล, เฟซบุ๊ก, ยาฮู, แอปเปิล, เอโอเแอล, พาลทอล์ค, สไกป์, และยูทูบ ซึ่งยินยอมพร้อมใจเปิดช่องทางพิเศษนี้ให้เจ้าหน้าที่เข้าไปค้นหาข้อมูลทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นอีเมล์ ภาพถ่าย คลิปเสียง หรือคลิปภาพเคลื่อนไหว
ไม่นับรวมไปถึงการดักฟังโทรศัพท์ของมะกันชนกว่า 10 ล้านคน ตลอดจนการดักฟังเสียง วีดีโอ ข้อความแชท และการถ่ายโอนข้อมูล ต่างๆ ของสไกป์ หรือโปรแกรมติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยข้อความพร้อมเสียงและภาพจากกล้อง webcam เพื่อสืบสาวหาข้อมูลทุกอย่างที่ถือว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศรวมทั้งอาจเป็นเบาะแสนำไปสู่การจับกุมกับผู้ก่อการร้าย เรียกได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลรวมทั้งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนครั้งใหญ่สุดเป็นประวัติการณ์
การเหวี่ยงแหจารกรรมข้อมูลส่วนตัวของประชาชนนี้ ขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงกับสิ่งที่ทำเนียบขาวและหน่วยงานจารกรรมทั้ง 3 หน่วย ยืนกรานเป็นกระต่ายขาเดียวมาตลอด ว่าการจารกรรมทุกครั้งจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน และไม่ใช่การล้วงความลับของมะกันชนอย่างกว้างขวางเช่นนี้ แต่จากเอกสารลับหลายชิ้นเผยว่า เพียงแค่เดือนเดียวเท่านั้น เอ็นเอสเอได้รวบรวมข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์เกือบ 3,000 ล้านชิ้น
ที่สำคัญ ยังมีการแฉด้วยว่า การสอดแนมของพญาอินทรีอเมริกายังครอบคลุมไปถึงฮ่องกงและจีน แม้จะไม่ได้จารกรรมข้อมูลของกองทัพจีน ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย ข้าราชการ และธุรกิจ ซึ่งยิ่งทำให้ทำเนียบขาวหน้าแตกเย็บไม่ติดมากขึ้น เพราะช่วงนี้กำลังประโคมข่าวกล่าวหาจีนว่าได้เปิดฉากโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ รวมทั้งชอบแฮคข้อมูลลับของสหรัฐฯ และพันธมิตรตะวันตก
ทันทีที่ หนังสือพิมพ์การ์เดียนของ อังกฤษ และวอชิงตัน โพสต์ ของสหรัฐฯ ร่วมกันเปิดโปงคดีอื้อฉาวที่สุดในรอบทศวรรษ หรือเรียกสั้นๆ ว่า “พริซึมเกต” ชื่อของเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน อดีตเจ้าหน้าที่ฝ่ายคอมพิวเตอร์ของซีไอเอ ซึ่งเพิ่งฉลองวันเกิดครบ 30 ปีเมื่อเร็วๆ นี้ พลันดังเป็นพลุแตก เมื่อยอมเผยโฉมตัวเองว่าเป็นแหล่งข่าวตัวจริงเสียงจริงที่อยู่เบื้องหลังการเปิดโปงข่าวสะเทือนฟ้าสะเทือนดินนี้ เพราะต้องการกระชากหน้ากากของผู้นำวอชิงตันมาตีแผ่ให้โลกได้รับรู้ว่าวอชิงตันได้ละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น และสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนมาเนิ่นนานเพียงไร
ผลการเปิดโปงข่าวนี้ทำให้ชื่อของสโนว์เดนกลายเป็นหนึ่งใน “ตำนานจอมแฉ ” ผู้โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์ของแดนดินถิ่นอินทรี ตามรอยของแดเนียล เอลล์สเบิร์ก อดีตนักวิเคราะห์ของกองทัพผู้มอบเอกสารลับเพนตากอนซึ่งอัดแน่นด้วยข้อมูลของกระทรวงกลาโหมที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในสงครามเวียดนามให้กับนักข่าวของหนังสือพิมพ์นิวยอร์ก ไทมส์เมื่อปี 2514 หรือดับเบิลยู มาร์ค เฟลท์ อดีตผู้อำนวยการสมทบของเอฟบีไอ เจ้าของฉายา “ดีพโทรท” แหล่งข่าวลับสุดยอดในคดีวอเตอร์เกตของนักข่าวหัวเห็ดของหนังสือพิมพ์เดอะ วอชิงตัน โพสต์ ผู้เพิ่งยอมเผยโฉมตัวเองเมื่อปี 2548 รวมทั้งมอร์เดคาย วานูนู เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคนิวเคลียร์ของอิสราเอลผู้เปิดเผยโครงการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ของอิสราเอลเมื่อปี 2529 เป็นเหตุให้ถูกตัดสินจำคุก 18 ปี และพลทหารแบรดลีย์ แมนนิ่ง ที่เปิดโปงเอกสารลับทางการทูตของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ หรือวิกิลีกส์
สโนว์เดนเคยเป็นเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคกับซีไอเอมานาน 4 ปี ก่อนจะลาออกไปทำงานกับบริษัท บูซ อัลเลน แฮมิลตัน หนึ่งในผู้ประกอบธุรกิจด้านให้คำปรึกษาชั้นนำของโลกในตำแหน่งผู้ช่วยฝ่ายเทคนิค มีหน้าที่คอยดูแลระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัทคู่สัญญาจากภายนอก โดยเฉพาะเอ็นเอสเอ สโนว์เดนจึงมีโอกาสเรียนรู้วิธีเก็บข้อมูลกิจกรรมการสอดแนมของหน่วยสืบราชการลับเอ็นเอสเอและซีไอเอ ซึ่งได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากบทสนทนาและพฤติกรรมของคนจำนวนมาก จอมแฉระดับโลกสารภาพว่าในช่วงแรกๆ เคยเกิดอารมณ์ชั่ววูบอยากจะเปิดโปงข้อมูลของรัฐบาล แต่สุดท้ายก็ยอมเปลี่ยนใจเนื่องจากข้อมูลลับของซีไอเอส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับประชาชน การเปิดโปงเรื่องเหล่านั้นอาจทำให้มีผู้เดือดร้อนจำนวนไม่ใช่น้อย
แม้จะมีชีวิตสุขสบาย มีอาชีพที่มั่นคงด้วยเงินเดือนราว 2 แสนดอลลาร์ (ราว 6 ล้านบาท) มีครอบครัวที่ตัวเองรัก มีบ้านพักอันอบอุ่นในฮาวาย แต่ท้ายสุด สโนว์เดนก็พร้อมจะสละความสุขเหล่านี้ เพราะไม่อาจฝืนมโนธรรมที่ว่าไม่อาจปล่อยให้รัฐบาลทำลายความเป็นส่วนตัว ละเมิดเสรีภาพในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนทั่วโลก ผ่านการสอดแนมด้วยเครื่องมือที่รัฐแอบสร้างขึ้น แม้จะรู้ว่ารัฐบาลสามารถสร้างหลักฐานเท็จต่างๆ จนอาจทำให้ตัวเองกลายเป็นคนชั่วร้ายเหมือนเช่นที่เคยทำกับหลายคนมาก่อนหน้าแต่ก็ไม่กลัว เพราะได้เลือกทางเดินใหม่แล้ว พร้อมกับแสดงความหวังว่าเอกสารลับชิ้นนี้จะช่วยทำให้ประชาคมโลกตระหนักว่าอยากอยู่บนโลกแบบไหนแน่
ด้วยความไม่ประมาท สโนว์เดนได้เตรียมการให้พรักพร้อมก่อนจะเผยแพร่เอกสารลับสุดยอดที่ตัวเองแอบสำเนาไว้จากสำนักงานของเอ็นเอสเอในฮาวาย ด้วยการขอลางาน 2 สัปดาห์ อ้างว่าเพื่อไปรักษาโรคลมบ้าหมู จากนั้นก็บินไปยังฮ่องกงพร้อมเอกสารชุดสุดท้ายที่จะกระชากหน้ากากของหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ โดยเจ้าตัวให้เหตุผลที่เลือกฮ่องกงว่าเพราะเป็นดินแดนที่ให้เสรีภาพทางความคิดแก่ผู้มีแนวเห็นไม่ลงรอยกับรัฐบาล และเป็นเพียงสถานที่ไม่กี่แห่งในโลก ที่สหรัฐฯ ไม่สามารถเข้ามาจัดการได้ อย่างไรก็ตาม สโนว์เดนสารภาพว่าอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก เพราะแม้ฮ่องกงจะเป็นเขตปกครองพิเศษของจีน แต่ก็มีกฎหมายเป็นของตนเอง โดยเฉพาะมีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับสหรัฐฯ ขณะที่รัฐบาลจีนอาจจะสอดมือเข้ามาควบคุมตัวเองไว้ ในฐานะที่เป็นแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์ หรือกระทั่งซีไอเอเองที่สามารถเสาะหาตัวเองได้อย่างง่ายดาย ในเมื่อสถานกงสุลสหรัฐฯ เองก็อยู่ไม่ไกลจากโรงแรมที่พักมากนัก
ในช่วงแรก จอมแฉระดับตำนานคนใหม่ของโลกยืนยันว่าจะไม่หลบซ่อนตัวหรือหลบหนีแต่อย่างใด เพราะเชื่อว่าไม่ได้ทำอะไรผิด แต่ก็ไม่ประมาทในฐานะที่เคยทำงานกับหน่วยข่าวกรองที่ทรงอิทธิพลที่สุดมานานหลายปี ทำให้รู้ตัวเองว่าทำเนียบขาวและเอ็นเอสเอไม่มีวันปล่อยให้รอดแน่ ดังนั้น สโนว์เดนจึงมักจะเก็บตัวเงียบในห้องพักในโรงแรมที่ฮ่องกง โดยยอมย่างเท้าออกจากห้องพักแค่ 3 ครั้ง นาน 3 สัปดาห์แล้ว และด้วยความระแวงว่าจะถูกสอดแนม จึงต้องนำหมอนไปเรียงไว้ที่ประตูเพื่อป้องกันการถูกดักฟัง และต้องสวมเสื้อมีฮู้ดสีแดงคลุมศีรษะ รวมทั้งต้องหาอะไรบังแลปท็อปตอนเข้าพาสเวิร์ดเพื่อป้องกันการถูกตรวจจับด้วยกล้อง นอกเหนือจากคอยดูข่าวโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต
สุดท้าย สโนว์เดนซึ่งประกาศว่าตัวเองไม่ได้เป็น “วีรบุรุษ” ในชั่วข้ามคืนอย่างที่สื่อยกย่อง แต่ที่ทำไปก็เพราะต้องการปกป้องเสรีภาพและความต้องการส่วนตัว และไม่ต้องการอยู่ในโลกที่ปราศจากความลับ ก็หายตัวอย่างลึกลับหลังเช็คเอาต์จากโรงแรม เชื่อกันว่าเตรียมยื่นเรื่องขอลี้ภัยการเมืองในประเทศที่สาม ระหว่างนั้น ได้มีการเปิดการลงชื่อในหน้าเว็บไซต์ของทำเนียบขาวเรียกร้องให้อภัยโทษต่อสโนว์เดนด้วย โดยหากมีผู้ลงชื่อสนับสนุนถึง 100,000 คนภายในวันที่ 9 กรกฎาคม ทำเนียบขาวก็มีหน้าที่ที่จะต้องรับพิจารณา ก่อนส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญ และมีถ้อยแถลงตอบกลับอย่างเป็นทางการ ตามโครงการ “we the people” หรือ “เราคือประชาชน” ที่ประธานาธิบดีโอบามาดำริไว้ เพื่อเปิดโอกาสให้อเมริกันชนสามารถสื่อสารกับรัฐบาลได้โดยตรง
ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำเนียบขาวและหน่วยงานความมั่นคงต่างเต้นเป็นเจ้าเข้า พยายามตอบโต้ทุกวิถีทางอย่างที่เคยทำมาก่อนหน้า รวมทั้งพยายามจะกระชากตัวสโนว์เดนไปลงโทษให้ได้ เริ่มด้วยการทำลายชื่อเสียงของอดีตลูกจ้างซีไอเอด้วยการการประณามว่าเป็นคนทรยศต่อประเทศชาติ มีการส่งฟ้องศาล 3 ข้อหาด้วยกัน โดยสองข้อหาแรกเป็นความผิดภายใต้กฎหมายจารกรรม อีกข้อหาหนึ่งเป็นข้อหาขโมยทรัพย์สินรัฐบาลจากการนำรายละเอียดโครงการลับสุดยอดมาเปิดเผยผ่านสื่อยักษณ์ใหญ่ แต่ละข้อหามีโทษจำคุกสูงสุด 10 ปี ซึ่งการส่งฟ้องนี้เป็นขั้นตอนแรกของการเดินเรื่องให้ฮ่องกงส่งตัวสโนว์เดนกลับประเทศในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน
นอกจากนี้ ยังมีการกุข่าวว่าเป็นสายลับให้กับจีน การสั่งยกเลิกพาสปอร์ตเพื่อสกัดกั้นไม่ให้เดินทางไปลี้ภัยในประเทศที่สาม พร้อมกับขอร้องให้พันธมิตรในยุโรปช่วยกักตัวหากพบว่าเดินทางไปรอเปลี่ยนเครื่องบิน หรือเปลี่ยนแผนใช้ประเทศนั้นเป็นสถานที่ลี้ภัย หลังจากมีข่าวว่าสโนว์เดนได้เดินทางออกจากฮ่องกงด้วยเครื่องบินของแอโรว์ฟลอต ไปลงที่กรุงมอสโก เพื่อเตรียมตัวเดินทางต่อไปคิวบาก่อนจะไปขอลี้ภัยในเอกวาดอร์ ซึ่งได้อนุญาตให้จูเลียน อัสซานจ์ ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ เข้าลี้ภัยในสถานเอกอัครราชทูตเอกวาดอร์ในอังกฤษเป็นเวลานานถึงหนึ่งปีเต็มแล้ว โดยกระทรวงต่างประเทศเอกวาดอร์ได้ทวีตผ่านทวิตเตอร์ว่า ได้รับคำร้องขอลี้ภัยของสโนว์เดนแล้ว
ผลที่เกิดขึ้นตามมาจากการแฉแผนลับสะท้านโลกก็คือ พล.อ.คีธ อเล็กซานเดอร์ ผู้อำนวยการเอ็นเอสเอต้องไปให้การต่อหน้าคณะกรรมาธิการข่าวกรองวุฒิสภาเป็นครั้งแรกยืนยันว่า โครงการนี้สามารถสกัดกั้นการก่อการร้ายได้หลายครั้งทั้งในและต่างประเทศ พร้อมกับรับปากว่าจะยอมเผยแผนป้องกันการก่อการร้ายกว่า 20 แผนจากผลพวงของการสอดแนมลับ ต่อที่ประชุมลับวุฒิสภา ขณะที่โรเบิร์ต มุลเลอร์ ผู้อำนวยการเอฟบีไอคุยโวว่า หากมีระบบสอดแนมเช่นนี้นานแล้ว อาจช่วยสกัดเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน 2544 ได้ด้วยซ้ำ
ปัญหาโต้เถียงในขณะนี้ ที่คงยากหาข้อยุติได้ง่ายๆ ภายในเร็ววันก็คือ อเมริกันชนจะต้องสละความเป็นส่วนตัวหรือไม่หากอยากจะมีชีวิตอยู่ปลอดภัยไร้กังวล รวมไปถึงการถกในประเด็นที่ว่าแท้ที่จริงแล้วสโนว์เดนเป็นพระเอกหรือผู้ร้าย เป็นผู้รักชาติหรือคนทรยศ เป็นคนที่ทำให้อเมริกันปลอดภัยน้อยลง หรือช่วยให้ตาสว่างมากขึ้น
ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ถึงกับนั่งไม่ติดขณะถูกรุมจวกแทบไม่มีชิ้นดีในคดีสะท้านโลก กรณีไฟเขียวให้ปัดฝุ่นโครงการลับสุดยอดที่ใช้ชื่อรหัสว่า “พริซึม” (prism) มาพัฒนาให้ทันสมัยปูทางให้เอ็นเอสเอ พร้อมด้วยซีไอเอและเอฟบีไอสามารถจารกรรมข้อมูลส่วนตัวของอเมริกันชนและผู้ที่เข้าไปตั้งถิ่นฐานในประเทศนี้ ด้วยการเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือเซิร์ฟเวอร์ของบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการเทคโนโลยีของสหรัฐฯ 9 แห่ง ได้แก่ ไมโครซอฟท์, กูเกิล, เฟซบุ๊ก, ยาฮู, แอปเปิล, เอโอเแอล, พาลทอล์ค, สไกป์, และยูทูบ ซึ่งยินยอมพร้อมใจเปิดช่องทางพิเศษนี้ให้เจ้าหน้าที่เข้าไปค้นหาข้อมูลทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นอีเมล์ ภาพถ่าย คลิปเสียง หรือคลิปภาพเคลื่อนไหว
ไม่นับรวมไปถึงการดักฟังโทรศัพท์ของมะกันชนกว่า 10 ล้านคน ตลอดจนการดักฟังเสียง วีดีโอ ข้อความแชท และการถ่ายโอนข้อมูล ต่างๆ ของสไกป์ หรือโปรแกรมติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยข้อความพร้อมเสียงและภาพจากกล้อง webcam เพื่อสืบสาวหาข้อมูลทุกอย่างที่ถือว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศรวมทั้งอาจเป็นเบาะแสนำไปสู่การจับกุมกับผู้ก่อการร้าย เรียกได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลรวมทั้งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนครั้งใหญ่สุดเป็นประวัติการณ์
การเหวี่ยงแหจารกรรมข้อมูลส่วนตัวของประชาชนนี้ ขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงกับสิ่งที่ทำเนียบขาวและหน่วยงานจารกรรมทั้ง 3 หน่วย ยืนกรานเป็นกระต่ายขาเดียวมาตลอด ว่าการจารกรรมทุกครั้งจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน และไม่ใช่การล้วงความลับของมะกันชนอย่างกว้างขวางเช่นนี้ แต่จากเอกสารลับหลายชิ้นเผยว่า เพียงแค่เดือนเดียวเท่านั้น เอ็นเอสเอได้รวบรวมข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์เกือบ 3,000 ล้านชิ้น
ที่สำคัญ ยังมีการแฉด้วยว่า การสอดแนมของพญาอินทรีอเมริกายังครอบคลุมไปถึงฮ่องกงและจีน แม้จะไม่ได้จารกรรมข้อมูลของกองทัพจีน ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย ข้าราชการ และธุรกิจ ซึ่งยิ่งทำให้ทำเนียบขาวหน้าแตกเย็บไม่ติดมากขึ้น เพราะช่วงนี้กำลังประโคมข่าวกล่าวหาจีนว่าได้เปิดฉากโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ รวมทั้งชอบแฮคข้อมูลลับของสหรัฐฯ และพันธมิตรตะวันตก
ทันทีที่ หนังสือพิมพ์การ์เดียนของ อังกฤษ และวอชิงตัน โพสต์ ของสหรัฐฯ ร่วมกันเปิดโปงคดีอื้อฉาวที่สุดในรอบทศวรรษ หรือเรียกสั้นๆ ว่า “พริซึมเกต” ชื่อของเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน อดีตเจ้าหน้าที่ฝ่ายคอมพิวเตอร์ของซีไอเอ ซึ่งเพิ่งฉลองวันเกิดครบ 30 ปีเมื่อเร็วๆ นี้ พลันดังเป็นพลุแตก เมื่อยอมเผยโฉมตัวเองว่าเป็นแหล่งข่าวตัวจริงเสียงจริงที่อยู่เบื้องหลังการเปิดโปงข่าวสะเทือนฟ้าสะเทือนดินนี้ เพราะต้องการกระชากหน้ากากของผู้นำวอชิงตันมาตีแผ่ให้โลกได้รับรู้ว่าวอชิงตันได้ละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น และสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนมาเนิ่นนานเพียงไร
ผลการเปิดโปงข่าวนี้ทำให้ชื่อของสโนว์เดนกลายเป็นหนึ่งใน “ตำนานจอมแฉ ” ผู้โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์ของแดนดินถิ่นอินทรี ตามรอยของแดเนียล เอลล์สเบิร์ก อดีตนักวิเคราะห์ของกองทัพผู้มอบเอกสารลับเพนตากอนซึ่งอัดแน่นด้วยข้อมูลของกระทรวงกลาโหมที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในสงครามเวียดนามให้กับนักข่าวของหนังสือพิมพ์นิวยอร์ก ไทมส์เมื่อปี 2514 หรือดับเบิลยู มาร์ค เฟลท์ อดีตผู้อำนวยการสมทบของเอฟบีไอ เจ้าของฉายา “ดีพโทรท” แหล่งข่าวลับสุดยอดในคดีวอเตอร์เกตของนักข่าวหัวเห็ดของหนังสือพิมพ์เดอะ วอชิงตัน โพสต์ ผู้เพิ่งยอมเผยโฉมตัวเองเมื่อปี 2548 รวมทั้งมอร์เดคาย วานูนู เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคนิวเคลียร์ของอิสราเอลผู้เปิดเผยโครงการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ของอิสราเอลเมื่อปี 2529 เป็นเหตุให้ถูกตัดสินจำคุก 18 ปี และพลทหารแบรดลีย์ แมนนิ่ง ที่เปิดโปงเอกสารลับทางการทูตของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ หรือวิกิลีกส์
สโนว์เดนเคยเป็นเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคกับซีไอเอมานาน 4 ปี ก่อนจะลาออกไปทำงานกับบริษัท บูซ อัลเลน แฮมิลตัน หนึ่งในผู้ประกอบธุรกิจด้านให้คำปรึกษาชั้นนำของโลกในตำแหน่งผู้ช่วยฝ่ายเทคนิค มีหน้าที่คอยดูแลระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัทคู่สัญญาจากภายนอก โดยเฉพาะเอ็นเอสเอ สโนว์เดนจึงมีโอกาสเรียนรู้วิธีเก็บข้อมูลกิจกรรมการสอดแนมของหน่วยสืบราชการลับเอ็นเอสเอและซีไอเอ ซึ่งได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากบทสนทนาและพฤติกรรมของคนจำนวนมาก จอมแฉระดับโลกสารภาพว่าในช่วงแรกๆ เคยเกิดอารมณ์ชั่ววูบอยากจะเปิดโปงข้อมูลของรัฐบาล แต่สุดท้ายก็ยอมเปลี่ยนใจเนื่องจากข้อมูลลับของซีไอเอส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับประชาชน การเปิดโปงเรื่องเหล่านั้นอาจทำให้มีผู้เดือดร้อนจำนวนไม่ใช่น้อย
แม้จะมีชีวิตสุขสบาย มีอาชีพที่มั่นคงด้วยเงินเดือนราว 2 แสนดอลลาร์ (ราว 6 ล้านบาท) มีครอบครัวที่ตัวเองรัก มีบ้านพักอันอบอุ่นในฮาวาย แต่ท้ายสุด สโนว์เดนก็พร้อมจะสละความสุขเหล่านี้ เพราะไม่อาจฝืนมโนธรรมที่ว่าไม่อาจปล่อยให้รัฐบาลทำลายความเป็นส่วนตัว ละเมิดเสรีภาพในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนทั่วโลก ผ่านการสอดแนมด้วยเครื่องมือที่รัฐแอบสร้างขึ้น แม้จะรู้ว่ารัฐบาลสามารถสร้างหลักฐานเท็จต่างๆ จนอาจทำให้ตัวเองกลายเป็นคนชั่วร้ายเหมือนเช่นที่เคยทำกับหลายคนมาก่อนหน้าแต่ก็ไม่กลัว เพราะได้เลือกทางเดินใหม่แล้ว พร้อมกับแสดงความหวังว่าเอกสารลับชิ้นนี้จะช่วยทำให้ประชาคมโลกตระหนักว่าอยากอยู่บนโลกแบบไหนแน่
ด้วยความไม่ประมาท สโนว์เดนได้เตรียมการให้พรักพร้อมก่อนจะเผยแพร่เอกสารลับสุดยอดที่ตัวเองแอบสำเนาไว้จากสำนักงานของเอ็นเอสเอในฮาวาย ด้วยการขอลางาน 2 สัปดาห์ อ้างว่าเพื่อไปรักษาโรคลมบ้าหมู จากนั้นก็บินไปยังฮ่องกงพร้อมเอกสารชุดสุดท้ายที่จะกระชากหน้ากากของหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ โดยเจ้าตัวให้เหตุผลที่เลือกฮ่องกงว่าเพราะเป็นดินแดนที่ให้เสรีภาพทางความคิดแก่ผู้มีแนวเห็นไม่ลงรอยกับรัฐบาล และเป็นเพียงสถานที่ไม่กี่แห่งในโลก ที่สหรัฐฯ ไม่สามารถเข้ามาจัดการได้ อย่างไรก็ตาม สโนว์เดนสารภาพว่าอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก เพราะแม้ฮ่องกงจะเป็นเขตปกครองพิเศษของจีน แต่ก็มีกฎหมายเป็นของตนเอง โดยเฉพาะมีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับสหรัฐฯ ขณะที่รัฐบาลจีนอาจจะสอดมือเข้ามาควบคุมตัวเองไว้ ในฐานะที่เป็นแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์ หรือกระทั่งซีไอเอเองที่สามารถเสาะหาตัวเองได้อย่างง่ายดาย ในเมื่อสถานกงสุลสหรัฐฯ เองก็อยู่ไม่ไกลจากโรงแรมที่พักมากนัก
ในช่วงแรก จอมแฉระดับตำนานคนใหม่ของโลกยืนยันว่าจะไม่หลบซ่อนตัวหรือหลบหนีแต่อย่างใด เพราะเชื่อว่าไม่ได้ทำอะไรผิด แต่ก็ไม่ประมาทในฐานะที่เคยทำงานกับหน่วยข่าวกรองที่ทรงอิทธิพลที่สุดมานานหลายปี ทำให้รู้ตัวเองว่าทำเนียบขาวและเอ็นเอสเอไม่มีวันปล่อยให้รอดแน่ ดังนั้น สโนว์เดนจึงมักจะเก็บตัวเงียบในห้องพักในโรงแรมที่ฮ่องกง โดยยอมย่างเท้าออกจากห้องพักแค่ 3 ครั้ง นาน 3 สัปดาห์แล้ว และด้วยความระแวงว่าจะถูกสอดแนม จึงต้องนำหมอนไปเรียงไว้ที่ประตูเพื่อป้องกันการถูกดักฟัง และต้องสวมเสื้อมีฮู้ดสีแดงคลุมศีรษะ รวมทั้งต้องหาอะไรบังแลปท็อปตอนเข้าพาสเวิร์ดเพื่อป้องกันการถูกตรวจจับด้วยกล้อง นอกเหนือจากคอยดูข่าวโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต
สุดท้าย สโนว์เดนซึ่งประกาศว่าตัวเองไม่ได้เป็น “วีรบุรุษ” ในชั่วข้ามคืนอย่างที่สื่อยกย่อง แต่ที่ทำไปก็เพราะต้องการปกป้องเสรีภาพและความต้องการส่วนตัว และไม่ต้องการอยู่ในโลกที่ปราศจากความลับ ก็หายตัวอย่างลึกลับหลังเช็คเอาต์จากโรงแรม เชื่อกันว่าเตรียมยื่นเรื่องขอลี้ภัยการเมืองในประเทศที่สาม ระหว่างนั้น ได้มีการเปิดการลงชื่อในหน้าเว็บไซต์ของทำเนียบขาวเรียกร้องให้อภัยโทษต่อสโนว์เดนด้วย โดยหากมีผู้ลงชื่อสนับสนุนถึง 100,000 คนภายในวันที่ 9 กรกฎาคม ทำเนียบขาวก็มีหน้าที่ที่จะต้องรับพิจารณา ก่อนส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญ และมีถ้อยแถลงตอบกลับอย่างเป็นทางการ ตามโครงการ “we the people” หรือ “เราคือประชาชน” ที่ประธานาธิบดีโอบามาดำริไว้ เพื่อเปิดโอกาสให้อเมริกันชนสามารถสื่อสารกับรัฐบาลได้โดยตรง
ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำเนียบขาวและหน่วยงานความมั่นคงต่างเต้นเป็นเจ้าเข้า พยายามตอบโต้ทุกวิถีทางอย่างที่เคยทำมาก่อนหน้า รวมทั้งพยายามจะกระชากตัวสโนว์เดนไปลงโทษให้ได้ เริ่มด้วยการทำลายชื่อเสียงของอดีตลูกจ้างซีไอเอด้วยการการประณามว่าเป็นคนทรยศต่อประเทศชาติ มีการส่งฟ้องศาล 3 ข้อหาด้วยกัน โดยสองข้อหาแรกเป็นความผิดภายใต้กฎหมายจารกรรม อีกข้อหาหนึ่งเป็นข้อหาขโมยทรัพย์สินรัฐบาลจากการนำรายละเอียดโครงการลับสุดยอดมาเปิดเผยผ่านสื่อยักษณ์ใหญ่ แต่ละข้อหามีโทษจำคุกสูงสุด 10 ปี ซึ่งการส่งฟ้องนี้เป็นขั้นตอนแรกของการเดินเรื่องให้ฮ่องกงส่งตัวสโนว์เดนกลับประเทศในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน
นอกจากนี้ ยังมีการกุข่าวว่าเป็นสายลับให้กับจีน การสั่งยกเลิกพาสปอร์ตเพื่อสกัดกั้นไม่ให้เดินทางไปลี้ภัยในประเทศที่สาม พร้อมกับขอร้องให้พันธมิตรในยุโรปช่วยกักตัวหากพบว่าเดินทางไปรอเปลี่ยนเครื่องบิน หรือเปลี่ยนแผนใช้ประเทศนั้นเป็นสถานที่ลี้ภัย หลังจากมีข่าวว่าสโนว์เดนได้เดินทางออกจากฮ่องกงด้วยเครื่องบินของแอโรว์ฟลอต ไปลงที่กรุงมอสโก เพื่อเตรียมตัวเดินทางต่อไปคิวบาก่อนจะไปขอลี้ภัยในเอกวาดอร์ ซึ่งได้อนุญาตให้จูเลียน อัสซานจ์ ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ เข้าลี้ภัยในสถานเอกอัครราชทูตเอกวาดอร์ในอังกฤษเป็นเวลานานถึงหนึ่งปีเต็มแล้ว โดยกระทรวงต่างประเทศเอกวาดอร์ได้ทวีตผ่านทวิตเตอร์ว่า ได้รับคำร้องขอลี้ภัยของสโนว์เดนแล้ว
ผลที่เกิดขึ้นตามมาจากการแฉแผนลับสะท้านโลกก็คือ พล.อ.คีธ อเล็กซานเดอร์ ผู้อำนวยการเอ็นเอสเอต้องไปให้การต่อหน้าคณะกรรมาธิการข่าวกรองวุฒิสภาเป็นครั้งแรกยืนยันว่า โครงการนี้สามารถสกัดกั้นการก่อการร้ายได้หลายครั้งทั้งในและต่างประเทศ พร้อมกับรับปากว่าจะยอมเผยแผนป้องกันการก่อการร้ายกว่า 20 แผนจากผลพวงของการสอดแนมลับ ต่อที่ประชุมลับวุฒิสภา ขณะที่โรเบิร์ต มุลเลอร์ ผู้อำนวยการเอฟบีไอคุยโวว่า หากมีระบบสอดแนมเช่นนี้นานแล้ว อาจช่วยสกัดเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน 2544 ได้ด้วยซ้ำ
ปัญหาโต้เถียงในขณะนี้ ที่คงยากหาข้อยุติได้ง่ายๆ ภายในเร็ววันก็คือ อเมริกันชนจะต้องสละความเป็นส่วนตัวหรือไม่หากอยากจะมีชีวิตอยู่ปลอดภัยไร้กังวล รวมไปถึงการถกในประเด็นที่ว่าแท้ที่จริงแล้วสโนว์เดนเป็นพระเอกหรือผู้ร้าย เป็นผู้รักชาติหรือคนทรยศ เป็นคนที่ทำให้อเมริกันปลอดภัยน้อยลง หรือช่วยให้ตาสว่างมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น